วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ปรัชญาอุปนิษัท ตอนที่ ๑



ตอนที่ ๓

ปรัชญาอุปนิษัท

๓.๑ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคัมภีร์อุปนิษัท

              คัมภีร์ทางศาสนาพราหมณ์ที่เรียกว่าว่าพระเวท หรือไตรเพทนั้น แต่ละคัมภีร์ จะแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน ดังนี้

              ๑. มันตระ  คือส่วนที่เป็นบทสวดสรรเสริญเทพต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในรูปของโศลก หรือร้อยกรอง เทียบกับของพระพุทธศาสนา น่าจะได้แก่บทสวดมนต์ที่พระสงฆ์ใช้สวดในโอกาสต่าง ๆ

              ๒.พราหมณะ คือส่วนที่เป็นคำอธิบายสำหรับประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ อาจจะเรียกว่าเป็นคู่มือพราหมณ์ก็ได้ เทียบกับพระพุทธศาสนาน่าจะได้แก่ส่วนที่เรียกว่า ศาสนพิธี

              ๓. อารัณยกะ คือส่วนที่เป็นคู่มือใช้สำหรับการอยู่ป่า ส่วนนี้ถือว่าเป็นภาคผนวกของคัมภีร์พราหมณะ เป็นส่วนที่อธิบายความหมายของพิธีกรรมอีกชั้นหนึ่ง

              ๔. อุปนิษัท คือส่วนที่เป็นคำอธิบายความรู้สึกนึกคิดทางปรัชญา ไม่เกี่ยวข้องกับบทสวด หรือพิธีกรรมดังกล่าวข้างต้น คัมภีร์นี้ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์นอกเหนือจากพิธีกรรมดังกล่าวข้างต้น มุ่งแสวงหาคำอธิบายที่จะทำให้คนเข้าถึงความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด อุปนิษัทจึงเหมือนต่อแทนของคนชั้นปัญญาชนที่มุ่งแสวงหาความหมาย หรืออุดมการณ์ของชีวิต

              คำว่า อุปนิษัท ตามรากศัพท์มาจากคำว่า อุป+นิ+ษทฺ มีความหมายว่า อุป มีความหมายว่า ใกล้, นิ มีความหมายว่า อย่างเอาใจใส่,อย่างทุ่มเท ส่วนคำว่า ษทฺ มีความหมาย ๓ ประการ ได้แก่ ๑) นั่งลง  ๒) ทำลาย และ ๓) ปลดเปลื้อง,ปลดปล่อย รวมความ อุปนิษัท หมายถึง การเข้าไปนั่งใกล้ของศิษย์ด้วยท่าทีแห่งความตั้งอกตั้งใจเพื่อรับการถ่ายทอดสัจธรรมสูงสุด ซึ่งจะนำไปสู่การทำลายหรือตัดข้อสงสัยทั้งปวงให้หมดไปจากจิตใจ[1]

              อนึ่ง เอ็ม หิริจันนะ (M.Hiriyanna) ได้กล่าวแนะนำคัมภีร์อุปนิษัทโดยสรุปดังนี้

              คำว่าอุปนิษัท หมายถึง คำสอนลึกลับ (รหัสยะ) หรือคำสอนที่สงวนสิทธิ์มิให้ผู้ที่ไม่เหมาะรู้ และสอนกันเป็นส่วนตัวแก่นักศึกษาที่มีอุปนิสัยพากเพียร คำสอนนี้ได้ปรับปรุงเรื่อยมาเป็นคัมภีร์อุปนิษัททั้งที่มีจำนวนมาก[2] แต่มีประมาณสิบสองคัมภีร์คัมภีร์เท่านั้นที่จัดว่าเป็นส่วนของพระเวทที่แท้จริง ส่วนที่เหลือเป็นคัมภีร์ที่รวบรวมในชั้นหลัง และมีคุณค่าด้อยกว่าของเดิม คัมภีร์อุปนิษัทดั้งเดิม แสดงถึงความเบ่งบานแห่งแนวคิดสมัยพระเวท รจนาเป็นร้อยแก้ว มีลำนำแต่ไม่มีจังหวะอย่างฉันท์ ทั้งมีลักษณะเป็นดนตรีอยู่ในตัวของมันเอง ผู้อ่านแม้จะไม่คุ้นเคยกับคำสอนก็สามารถเข้าใจไดไม่ยากนัก อิทธิพลของคำสอนจากคัมภีร์นี้เด่นมาก[3]

              บรรดาอุปนิษัทที่ถือว่าเป็นส่วนของพระเวทอย่างแท้จริง ๑๐ คัมภีร์  และถือว่า ทั้ง ๑๐ คัมภีร์นี้เป็น ศรุติ มีดังนี้[4]

๑.    อีษา อุปนิษัท "ผู้ปกครองภายใน" (ศูกล ยชุรเวท)

๒.    เกนะ อุปนิษัท "ใครย้ายโลก" (สามเวท)

๓.    กถะ อุปนิษัท "ความตายเป็นครู" (กฤษณะ ยชุรเวท)

๔.    ปรัสนะ อุปนิษัท "ลมหายใจของชีวิต" (อาถรรพเวท)

๕.    มุณฑกะ อุปนิษัท "การรับรู้สองอย่าง" (อาถรรพเวท)

๖.     มาณฑูกยะ อุปนิษัท "จิตสำนึกและช่วงต่าง" (อาถรรพเวท)

๗.   ไตติรียะ อุปนิษัท "จากอาหาร สู่ปีติ" (กฤษณะ ยชุรเวท)

๘.    ไอตเรยะ อุปนิษัท "ตัวตนและอาตมันของมนุษย์" (ฤคเวท)

๙.    ฉานโทคยะ อุปนิษัท "บทเพลงและการสังเวย" (สามเวท)

๑๐.                       พฤหทารัณยกะ อุปนิษัท (ศูกล ยชุรเวท)

              กล่าวโดยสรุป คัมภีร์อุปนิษัท เป็นคัมภีร์ตอนสุดท้ายของคัมภีร์พระเวท บรรดาแนวความคิดทางปรัชญาที่กระจัดกระจายอยู่ในมันตระ พราหมณะ และอรัณยกะของคัมภีร์พระเวท ได้รับการประมวลมากล่าวไว้ในอุปนิษัท[5] จากนั้นก็มีการอธิบายขยายเนื้อความแนวคิดทางปรัชญาเหล่านั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจน และเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น การศึกษาปรัชญาแนวความคิดใด ๆ ในคัมภีร์พระเวท จึงขาดคัมภีร์อุปนิษัทไม่ได้ ทั้งนี้เพราะระบบปรัชญาสายอาสติกะทั้ง ๖ สำนัก ก็ล้วนอาศัยความไม่กลมกลืนกันในคัมภีร์อุปนิษัทดังกล่าว ทำให้เกิดการตีความ และอธิบายความตามมติของตน ๆ แตกต่างกันออกไป

๓.๒ ทฤษฎีความรู้แท้ของอุปนิษัท

              ยุคพระเวทยกย่องความรู้ในคัมภีร์ การทรงจำคัมภีร์ได้อย่างแม่นยำ ตลอดจนความรู้ในพิธีกรรมต่าง ๆ ในคัมภีร์พระเวทเป็นสำคัญ ผลจากการยกย่องและให้ความสำคัญดังกล่าว ทำให้คนเริ่มก้าวออกห่างจากสารัตถะของพระเวท เพราะมัวแต่ไปสนพิธีกรรม สังคมจึงถูกหล่อหลอมไปด้วยลัทธิ ประเพณี ความเชื่อ และพิธีกรรม ซึ่งเป็นเรื่องเปลือกนอก

              อุปนิษัทจึงเป็นเหมือนตัวแทนของปฏิกิริยาที่มีต่อการยกย่อง สรรเสริญพิธีกรรมเหล่านั้น โดยการประกาศจุดยืนว่า พิธีกรรมต่าง ๆ ไม่เพียงพอสำหรับนำพามนุษย์ไปสู่วิถีแห่งความรู้แจ้ง และความหลุดพ้น การรู้แจ้งในพรหมันต่างหาก ที่จะทำให้มนุษย์หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด เหตุนั้นในคัมภีร์อุปนิษัท จึงมีร่องรอยของการกระแนะกระแหน ความรู้เกี่ยวกับพิธีกรรมอย่างตรงไปตรงมา ขอให้พิจารณาข้อความจากคัมภีร์อุปนิษัทดังต่อไปนี้

              “พวกคนโงที่เต็มไปด้วยอวิชชาทั้งปวงก็คล้ายกับเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ย่อมคิดว่า เราได้บรรลุสมดังที่เรามุ่งมาดปรารถนาแล้ว โดยเหตุที่ผู้ประกอบยัญพิธีมิได้เข้าใจสัจธรรมโดยถ่องแท้ เพราะอำนาจตัณหานั่นเอง เพราะฉะนั้น พวกเขาซึ่งเป็นคนเคราะห์ร้าย จึงต้องจุติจากสวรรค์ ในเมื่อกุศลกรรมที่ทำให้เขาบังเกิดในโลกที่สูงส่งนั้นหมดสิ้นลง

              พวกที่โง่เขลาซึ่งเห็นว่ายัญพิธีและกุศลกรรมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดแล้ว ก็มิได้ทราบคุณความดีทางด้านจิตใจที่สูงยิ่งกว่านั้นชนิดอื่นได้เลย เมื่อพวกเขาเสวยสุขอยู่ในสรวงสวรรค์ เพราะอำนาจอกุศลกรรม (การบูชายัญเป็นต้น) อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้ว เขาก็จะวกกลับมายังโลกนี้อีก หรืออาจกลับมาสู่โลกที่ต่ำกว่านี้ก็ได้

              ผู้บำเพ็ญตบะ และมีศรัทธาในการอยู่ป่า เป็นผู้ที่มีจิตใจเป็นสมาธิ เป็นผู้รู้สัจธรรม ดำเนินชีวิตแบบนักบวช ท่านเหล่านี้ที่พ้นจากตัณหาแล้ว ก็จะผ่านเข้าไปสู่ประตู่แห่งดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นที่สถิตของปุรุษะซึ่งอมตะเป็นอาตมันที่ไม่รู้จักเสื่อมสลายนั้นได้

              พราหมณ์เมื่อได้พินิจพิเคราะห์ดูโลกทั้งหลายที่จะเอาชนะได้ด้วยยัญพิธีแล้ว ก็ไม่ควรจะไปถึงอะไรเลย นอกจากความรังเกียจ โลกที่ไม่ได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมานี้ เขาจะเอาชนะโดยอาศัยสิ่งที่ถูกทำขึ้นมา เช่น ยัญพิธีหาได้ไม่ เพื่อจะได้รับความรู้ เขาควรถือเชื้อเพลิงที่ใช้ในการบูชายัญในฐานะเป็นศิษย์ที่อ่อนน้อมถ่อมตนเข้าไปหาคุรุ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในคัมภีร์ และมีความมั่นคงในความรู้แจ้งพรหมัน

              สำหรับผู้ที่เข้าไปหาคุรุในแบบที่ถูกต้องเหมาะสมนั้น จิตใจของเขาจะสงบ เขาจะบรรลุถึงสันติสุข เข้าใจสิ่งที่คุรุสอนในเรื่องความรู้เกี่ยวกับพรหมัน ซึ่งเป็นสัจธรรมจริง ๆ ซึ่งโดยอาศัยวิธีนี้ เขาก็จะรู้จักปุรุษะที่ไม่รู้จักสูญสลาย คือ ความแท้จริงเท่านั้นได้[6]

              “..ข้าพเจ้ามีความรู้เกี่ยวกับฤคเวท ยชุรเวท และสามเวท แต่ความรู้ดังกล่าวนี้ ข้าพเจ้ารู้เพียงมันตระ และตำราที่ศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น ข้าพเจ้าไม่รู้จักอาตมันตามความเป็นจริงเลย....”[7]

              หรือ

              “มีความรู้สองชนิดที่ควรจะรู้แจ้ง คือ ความรู้อย่างสูง (ปรวิทยา) และความรู้อย่างต่ำ (อปรวิทยา) ความรู้อย่างต่ำคือความรู้ที่ได้รับจากคฤเวท ยชุรเวท อถรรพเวท จากพิธีกรรม และจากการเรียนไวยากรณ์....ส่วนความรู้อย่างสูงนั้นได้แก่ความรู้เกี่ยวกับพรหมันอันเป็นอมฤต”[8]

              จากตัวอย่างดังกล่าวข้างต้น ทำให้เราเห็นจุดยืนที่แตกต่างระหว่างยุคพระเวท กับยุคอุปนิษัทชัดเจน กล่าวคือ ยุคพระเวทน้ำหนักความสำคัญอยู่ที่ตัวคัมภีร์และพิธีกรรม ขณะที่ยุคอุปนิษัทนั้นให้ความสำคัญที่ตัวแก่นแท้ของอมฤตธรรม และความรู้ที่ทำให้เข้าถึงจุดมุ่งหมายดังกล่าว ถือว่าเป็นความรู้ที่แท้จริง ส่วนความรู้เกี่ยวกับคัมภีร์ ตลอดถึงพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นแต่เพียงเปลือกนอก

              จุดยืนดังกล่าวนี้ ทำให้นึกถึงประเด็นของพระพุทธศาสนา ในช่วงสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ มีพระเถระรูปหนึ่ง ทรงจำปิฎกได้เป็นจำนวนมาก เป็นคณาจารย์สั่งสอน มีลูกศิษย์มากมาย แต่มักจะได้รับการเรียกขานจากพระพุทธเจ้าว่า “โปฐิละ” ซึ่งมีความหมายว่า “คัมภีร์เปล่า”[9] สะท้อนให้เห็นว่า หลักการของพระพุทธศาสนาก็ได้ให้ความสำคัญในการเข้าถึงสัจธรรมมากกว่าการทรงจำพระไตรปิฎกแต่เพียงประการเดียว

๓.๓ คำสอนเรื่องอาตมัน-ปรมาตมัน

               แนวความคิดเรื่องอาตมัน-ปรมาตมัน คล้าย ๆ กับแนวความคิดเรื่องปฐมธาตุของโลกในปรัชญาตะวันตก  คือเป็นเรื่องของความพยายามในการอธิบาย หรือแสวงหาคำอธิบายถึงที่มาของโลก ตลอดสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก นอกเหนือไปจากคำตอบที่มีมาแต่เดิม ซึ่งยกภาระให้เป็นเรื่องของการสร้างสรรค์โดยพระผู้เป็นเจ้า

               การตั้งคำถามในยุคนี้ จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการทางปรัชญา ตะวันตกทำให้เกิดแนวความคิดเรื่องธาตุ และอะตอมในเวลาต่อมา ขณะที่ปรัชญาตะวันออก โดยเฉพาะอินเดีย มีการกล่าวถึงอณู ปรมาณู อาตมัน และปรมาตมัน

               คำเหล่านี้ถือเป็นตัวแทนความคิดของมนุษย์ ที่ต้องการแสวงหาความกระจ่าง ซึ่งตามแบบฉบับปรัชญาตะวันออก ก็มักจะสนใจเรื่องชีวิต การกล่าวถึงอาตมัน และปรมาตมันก็ทำนองเดียวกัน

               ในทัศนะของปรัชญาอุปนิษัท แก่นแท้ของมนุษย์ที่แท้จริงนั้นอยู่เหนือร่างกาย และชีวิตที่เรามองเห็นด้วยตา โดยเรียกแก่นแท้ของชีวิตนี้ว่า อาตมัน ซึ่งอาตมันนี้ มีต้นกำเนิด หรือถูกแบ่งภาคมาจากปรมาตมันอีกทอดหนึ่ง อาตมันนี้ อยู่เหนือความชรา มรณะ ความเศร้าโศก ความหิว และความกระหาย มีตัณหาเป็นสัจธรรม มีความตั้งใจเป็นสัจธรรม[10]

               ถ้าจะถามต่อไปว่า อาตมันจริง ๆ คืออะไร ร่องรอยในคัมภีร์อุปนิษัทเองก็มีความพยายามในการอธิบาย โดยผูกเป็นเรื่องราวสนทนากันระหว่างพระประชาบดีกับพระอินทร์และพระวิโรจนะ

               พระอินทร์และพระวิโรจนะเป็นผู้ผูกคำถามขึ้นมาว่า อาตมันคืออะไร และคำตอบแรกที่ได้รับจากพระประชาบดีก็คือ ปุรุษะที่เราจะเห็นได้ในดวงตานั่นแหละคืออาตมัน[11]

               ความสงสัยได้อุบัติขึ้นในใจของพระอินทร์และพระวิโรจนะไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้เราได้เห็นความพยายามในการที่จะอธิบายเกี่ยวกับอาตมันเรื่อย ๆ จากปากของพระประชาบดี คัดมาเป็นตัวอย่างประกอบการศึกษาดังต่อไปนี้

               แต่ผู้ที่เราเห็นอยู่ในน้ำ และในกระจกเงาล่ะ เขาเป็นใครกัน?

               พระประชาบดีตรัสว่า ผู้ที่ท่านเห็นในที่ทั้งปวงเป็นผู้เดียวกันนั่นเอง แล้วท้าวเธอก็ตรัสว่า เมื่อมองดูตัวท่านเองในน้ำแล้ว อะไรก็ตามที่ท่านไม่เข้าใจเกี่ยวกับอาตมันแล้ว ก็จงบอกเราเถิด

               พระอินทร์และท้าวไวโรจนะก็มองดูตัวเองในน้ำ แล้วพระประชาบดีก็ตรัสถามว่า ท่านเห็นอะไรเล่า?

               พระอินทร์และท้าวไวโรจนะทูลตอบว่า ขอเดช พวกเราเห็นตัวเราเองทั้งหมด ซึ่งเป็นการสร้างรูปร่างของเราขึ้นมาใหม่ได้อย่างถูกต้องทั้งผมและเล็บทีเดียว

               แล้วพระประชาบดีก็ตรัสว่า เมื่อได้ประดับประดาตัว ได้แต่งตัวและทำตัวให้เรียบร้อยแล้ว จงดูตัวเองในน้ำซิ

               เมื่อพระอินทร์และท้าววิโรจนะประดับประดาตัว แต่งตัวและทำตัวให้เรียบร้อยแล้ว ก็ทรงมองดูตัวเองในน้ำ แล้วพระประชาบดีก็ตรัสถามว่า ท่านเห็นอะไรบ้าง?

               พระอินทร์และท้าวไวโรจนะทูลตอบว่า เห็นเหมือนตัวเราเองที่ประดับประดาดีแล้ว แต่งตัวดีแล้ว และทำตัวให้เรียบร้อยแล้วขอรับ

               พระประชาบดีตรัสว่า นั่นแหละคืออาตมันละ นั่นแหละคืออมตัยที่ไร้ความกลัว นั่นแหละคือพรหมัน แล้วพระอินทร์และท้าวไวโรจนะก็จากไปด้วยจิตใจที่สงบ พระประชาบดีมองดูพระอินทร์และท้าวไวโรจนะทั้งปวงแล้วก็ทรงรำพึงว่า เขากำลังจากไปโดยมิได้รู้แจ้งอาตมัน มิได้พบอาตมันเลย ใครก็ตามที่ยอมรับลัทธินี้ว่าเป็นที่สุด ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะเป็นทวยเทพหรืออสูรก็ตาม จะต้องพินาศทั้งสิ้น

               แล้วท้าวไวโรจนะที่มีจิตใจสงบก็ไปหาพวกอสูร และประกาศลัทธินั้นให้พวกอสูรฟังว่า เราจะต้องทำตัวของเราเท่านั้นให้มีความสุข ควรรับใช้เฉพาะตัวเราเท่านั้น เมื่อทำตัวเท่านั้นให้มีความสุข เมื่อได้รับใช้ตัวเองแล้ว เราก็จะได้รับโลกทั้งสอง คือทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า เพราะฉะนั้นในที่นี้ แม้กระทั่งบัดเดี๋ยวนี้ พวกเขาก็พูดถึงผู้ที่ไม่ใช่ทายก ผู้ไม่มีศรัทธา ไม่ทำการบูชายัญว่านั้นแหละคืออสูรละ เพราะนี่เป็นคำสอนของพวกอสูร พวกเขาจะประดับประดาร่างกายของคนตายแล้วด้วยของหอม ดอกไม้ ฯลฯ ที่พวกเขาได้ขอมา ประดับด้วยเสื้อผ้าและเครื่องอลังการ เพราะพวกเขาคิดว่า โดยการปฏิบัติเช่นนี้ พวกเขาจะได้ชนะโลกหน้าต่อไป

               แต่ทว่าก่อนที่พระอินทร์จะไปถึงทวยเทพ ก็มองเห็นอันตรายนี้ว่า ร่างกายนี้ เมื่อได้ประดับประดาแล้ว ก็ชื่อว่าเป็นร่างกายที่ประดับประดาดีแล้ว ร่างนี้เมื่อแต่งให้ดี ก็ชื่อว่าเป็นร่างกายที่แต่งดีแล้ว ร่างนี้เมื่อทำให้เรียบร้อยแล้ว ก็ชื่อว่าเป็นร่างกายที่ทำให้เรียบร้อยแล้ว ข้อนี้มีอุปมาฉันใด เมื่อร่างนี้มืดบอด เขาก็มืดบอดไปด้วย เมื่อร่างกายนี้พิการ เขาก็พลอยพิการไปด้วย เมื่อร่างกายนี้ไม่สมประกอบ เขาก็พลอยไม่สมประกอบไปด้วยมีอุปไมยฉันนั้น ความจริงเมื่อร่างกายนี้สูญสิ้นแล้ว อาตมันก็จะสูญสิ้นไปทันที ในร่างกายนี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นมีอะไรดีเลยพระอินทร์ก็ถือเชื้อเพลิงสำหรับยัญพิธีกลับไปหาพระประชาบดีอีก (พระอินทร์ได้ทูลพระประชาบดีให้ทรงทราบวัตถุประสงค์ของตน ซึ่งพระประชาบดีก็ทรงยอมรับความจริงนั้น และขอให้พระอินทร์อยู่เป็นศิษย์ต่อไปอีก ๓๒ ปี) พระอินทร์ได้อยู่เป็นศิษย์พระประชาบดีอีก ๓๒ ปี แล้วพระประชาบดีก็ตรัสกับพระอินทร์ว่า ผู้ที่เคลื่อนไหวอย่างมีความสุขในความฝันนั่นแหละคืออาตมัน นั่นแหละคือผู้ที่เป็นอมตัยไร้ความหวาดกลัว นั่นแหละคือพรหมัน แล้วพระอินทร์ผู้มีจิตสงบก็จากไป

               แต่แล้ว ก่อนจะไปถึงทวยเทพ พระอินทร์ก็ทรงเห็นอันตรายนี้ว่า ทีนี้ แม้ร่างกายนี้จะมืดบอด อาตมันที่อยู่ในความฝันก็มิได้มืดบอดไปด้วย แม้ร่างกายนี้จะพิการ แต่อาตมันที่อยู่ในความฝันก็หาได้พิการไปด้วยไม่ แม้ร่างกายนี้จะบกพร่อง แต่อาตมันที่อยู่ในความฝันก็หาได้บกพร่องไปด้วยไม่ เมื่อร่างกายนี้ถูกประหาร อาตมันก็มิได้ถูกประหารไปด้วยเลย อาตมันมิได้พิการไปพร้อม ๆ กับความพิการของร่างกายเลย แต่ตามที่เป็นอยู่นั้น พวกเขาได้ประหารอาตมัน มิได้เอาเสื้อหุ้มห่ออาตมัน เท่าที่เป็นจริง อาตมันได้เป็นผู้มีประสบการณ์ต่อสิ่งที่ไม่อาจลงรอยกันได้ ตามความเป็นจริง อาตมันก็ยังห้องไห้ ข้าพเจ้ามองไม่เห็นว่าในอาตมันนี้จะมีอะไรดีบ้าง (แล้วพระอินทร์ก็กลับไปเฝ้าพระประชาบดีด้วยวัตถุประสงค์นี้อีก พระประชาบดีก็ทรงยอมรับความจริงนั้น แต่ก็ขอให้พระอินทร์อยู่เป็นศิษย์อีก ๓๒ ปี) แล้วพระประชาบดีก็ตรัสกับพระอินทร์ว่าทีนี้เมื่อเขาตกอยู่ในความหลับสนิท อารมณ์เย็น จิตใจสงบ และไม่ทราบความฝันเลย นั่นแหละคืออาตมันละ นั่นแหละคือสิ่งที่เป็นอมตัยไร้ความกลัว นั่นแหละคือพรหมันละ แล้วพระอินทร์ผู้มีจิตสงบก็จากไป

               แต่แล้วก่อนที่จะไปถึงทวยเทพ พระอินทร์ก็ทรงมองเห็นอันตรายข้อนี้ว่า “ความจริง อาตมันนี้เมื่อตกอยู่ในความหลับสนิท จะไม่รู้จักตนเองในรูปว่า “ฉันคือเขาละ” เลย ทั้งไม่รู้จักสิ่งเหล่านี้ ณ ที่นี้ด้วย ความจริงอาตมันจะกลายเป็นสิ่งที่ได้สูญหายไปแล้ว ข้าพเจ้ามองไม่เห็นเลยว่า ในอาตมันนี้จะมีอะไรดีบ้าง” (พระอินทร์ก็หวนกลับไปเฝ้าพระประชาบดีอีกครั้งหนึ่ง พระประชาบดีได้ให้สัญญาว่าจะบอกความจริงขั้นสุดท้ายให้ หลังจากต้องอยู่เป็นศิษย์แล้วเป็นเวลาอีก ๕ ปี) พระอินทร์ได้อยู่เป็นศิษย์ของพระประชาบดีอีก ๕ ปี ดังนั้น จำนวนปีทั้งหมดจึงรวมได้ ๑๐๑ ปี ดังนั้น ประชาชนจึงได้กล่าวกันว่า ท้าวมัฆวาน (พระอินทร์ผู้ให้รางวัล) ได้อยู่เป็นศิษย์เพื่อศึกษาความรู้ที่ลึกลับกับพระประชาบดีเป็นเวลาถึง ๑๐๑ ปี แล้วพระประชาบดีก็ตรัสกับพระอินทร์ “ดูก่อนท้าวมัฆวาน ร่างกายนี้เป็นมตรรยจริง ๆ ร่างกายนี้ถูกความตายพิชิต แต่ร่างกายนี้ก็เป็นมูลฐานของอาตมันที่ไร้ร่าง ไม่ตาย ความจริงอาตมันเมื่ออยู่ในร่างกายจะถูกความทุกข์ ความสุขครอบงำ ความจริงนั้นมีความหลุดพ้นจากความสุขและความทุกข์สำหรับผู้ได้สังสรรค์กับร่างกายนี้ ลมก็เป็นสิ่งไม่มีร่าง เมฆ ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งไม่มีรูปร่างทั้งนั้น ทีนี้ในฐานะที่สิ่งเหล่านี้เกิดมาจากอวกาศภายนอก และได้ถึงแสงสว่างที่สูงสุดแล้ว แต่ละอย่างก็ปรากฏพร้อมกับรูปร่างของตนเองฉันใด อาตมันที่สงบนี้ที่เกิดมาจากร่างกายนี้แล้ว ได้ถึงแสงสว่างสูงสุดก็ปรากฏพร้อมกับรูปร่างของตนฉันนั้น อาตมันนั้นแหละคืออุตตมปุรุษ (บุรุษสูงสุด)ละ”[12]

               แนวความคิดเรื่องอาตมัน หากจะอธิบายให้ง่ายที่สุดก็คือ มนุษย์ในยุคนั้นเชื่อว่า มีสิ่งหนึ่งต่างหากจากร่างกาย แต่อาศัยอยู่ในร่างกาย สิ่งนี้เป็นสิ่งอมตะ ไม่รู้จักตาย ซึ่งตรงข้ามกับร่างกาย ดังนั้น เมื่อร่างกายเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา อาตมันดังกล่าวก็จะออกจากร่างกายไปแสวงหาร่างใหม่ ความตายจึงเปรียบเสมือนกับการเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่

               แนวความคิดเรื่องอาตมัน นอกจากจะนำมาอธิบายเรื่องชีวิตแล้ว ในอีกมุมหนึ่ง อาตมันยังถูกนำไปอธิบายถึงปรากฏการณ์ทางวัตถุ โดยสะท้อนให้เห็นว่า สรรพสิ่งต่าง ๆ ที่เราเห็นเป็นรูปร่างที่แตกต่างกันออกไป แต่ทั้งหมดนั้นประกอบขึ้นจากโครงสร้างพื้นฐานอันเดียวกัน ในฉานโทคยะอุปนิษัทเรียกสิ่งนี้ว่า “สัต” และ “สัต” นี้ก็คืออาตมันนั่นเอง แนวความคิดเรื่องอาตมัน หรือ สัต ในปรัชญาอุปนิษัทนี้ จึงคล้ายกับแนวคิดเรื่องอะตอมในปรัชญาตะวันตก

               ข้อความในฉานโทคยอุปนิษัท เล่าเรื่องราวเศวตเกตุกับบิดา

               เนื้อความโดยย่อมีอยู่ว่า เศวตเกตุ ได้เดินทางไปศึกษาคัมภีร์พระเวทกับอาจารย์ตั้งแต่อายุ ๑๒ ปี อายุ ๒๔ ปี ก็สำเร็จการศึกษา ลาอาจารย์กลับบ้านด้วยความยิ่งยะโสว่าตนเป็นปราชญ์ จึงเป็นคนดื้อรั้นไม่ยอมฟังใคร

               บิดาเห็นความผิดปกติเช่นนั้น ต้องการสอนลูกของตนเองให้ได้ทราบความจริง จึงถามคำถามขึ้นประโยคหนึ่งว่า

               “ลูก ลูกรู้จักคำสอนที่ทำให้ได้ยินสิ่งที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน ทำให้คิดสิ่งที่ไม่เคยคิดมาก่อน ทำให้เข้าใจสิ่งที่ไม่เคยเข้าใจมาก่อนไหม?”

               เจอคำถามนี้เข้า เศวตเกตุถึงกับงง ไม่เข้าใจสิ่งที่พ่อถามว่าหมายถึงอะไร ผู้เป็นพ่อจึงเฉลย

               “ลูกรักของพ่อ โดยการเข้าใจดินเหนียวก้อนหนึ่ง เราก็จะเข้าใจสิ่งทั้งปวงที่ทำจากดินเหนียวได้ ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นมาได้ก็โดยอาศัยสัญนิยมแห่งคำพูดเท่านั้น มันเป็นเพียงชื่อเท่านั้นเอง ดินเหนียวอย่างนั้นเท่านั้นเป็นความจริงแท้ ข้อนี้ฉันใด ลูกรัก เพราะการเข้าใจแท่งเหล็กเพียงแท่งเดียว ก็จะเข้าใจสิ่งทั้งปวงที่ทำด้วยเหล็กได้ ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นมาได้ก็เพราะสัญนิยมแห่งคำพูดเท่านั้น มันเป็นเพียงชื่อเท่านั้นเอง เหล็กอย่างนั้นเท่านั้นเป็นความจริงแท้ ข้อนี้ฉันใด คำสอนนั้นก็เป็นฉันนั้นแหละลูกรักของพ่อ”[13]

               “ลูกรักของพ่อ ในตอนเริ่มต้นโลกนี้เป็นเพียง “สัต” เท่านั้น เป็นเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น ไม่เป็นสอง ไม่ต้องสงสัยละ....สัตได้สร้างไฟขึ้นมา ไฟนั้นรำพึงว่า ขอให้เราเป็นสิ่งที่มากหลายเถิด ขอให้เราได้ให้กำเนิดเถิด ไฟได้สร้างน้ำขึ้นมา เพราะฉะนั้น เมื่อใดก็ตามที่บุคคลเกิดเศร้าโศกเสียใจ หรือมีเหงื่อไหลไคลย้อยขึ้นมาแล้ว จากไฟอย่างเดียวนั่นแหละที่ได้ก่อให้เกิดน้ำขึ้นมา น้ำนั้นได้รำพึงว่า ขอให้เราเป็นสิ่งที่มากหลายเถิด ขอให้เราได้ให้กำเนิดเถิด น้ำนั้นได้สร้างอาหารขึ้นมา เพราะฉะนั้น เมื่อใดก็ตามที่เกิดมีฝนตกลงมาก็จะมีอาหารอุดมสมบูรณ์ จากน้ำอย่างเดียวเท่านั้นเองที่ได้ผลิตอาหารสำหรับรับประทานขึ้นมาได้.....เทพนั้นได้รำพึงว่า เอาละ เมื่อได้เข้าไปสู่เทพทั้งหลาย (ไฟ น้ำ และอาหาร) โดยอาศัยอาตมันที่มีชีวิตอยู่นี้แล้ว ขอให้เราได้พัฒนานามรูปเถิด ขอให้เราได้ทำนามและรูปแต่ละอย่างให้เป็นไตรมิตรเถิด ดังนั้น เทพนั้นเมื่อได้เข้าไปสู่เทพทั้งสามเหล่านั้น โดยอาศัยอาตมันที่มีชีวิตอยู่นี้แล้วก็ได้พัฒนานามรูป...และได้ทำให้นามและรูปแต่ละอย่างเป็นไตรมิตร”

               “เจ้าจงเอาผลมะเดื่อจากที่นั่นมาให้พ่อซิ”

               “นี่ครับพ่อ”

               “ผ่ามันออกไปซิ”

               “เจ้าเห็นอะไรในผลมะเดื่อนั้นบ้าง?”

               “มีเมล็ดเล็ก ๆ อยู่มากมายเหลือเกินพ่อ”

               “จงผ่าเมล็ดมะเดื่อนั้นสักเมล็ดหนึ่งซิ”

               “ผ่าแล้วพ่อ”

               “เจ้าเห็นอะไรบ้าง?”

               “ไม่เห็นมีอะไรเลยพ่อ”

               “ถูกแล้วลูกรักของพ่อ มันเป็นแก่นแท้ที่ละเอียดซึ่งเจ้ามองไม่เห็น แต่จากต้นมะเดื่อใหญ่นี้ก็เกิดมาจากแก่นแท้นั่นเองแหละลูกรัก จงเชื่อเถิดพ่อเถิดลูก ว่ามันเป็นแก่นแท้ที่ละเอียดลึกซึ้ง โลกนี้ก็มีแก่นแท้นั่นแหละเป็นอาตมัน แก่นแท้นั่นแหละเป็นสัต แก่นแท้นั่นแหละเป็นอาตมัน นั้นแหละเป็นตัวเจ้าละ เศวตเกตุ”[14]

               จากข้อความสนทนาข้างต้น ทำให้เราได้มองเห็นแนวทางในการอธิบายถึงการอุบัติขึ้นของสรรพสิ่ง โดยอาศัยรากฐานเดียวกันคืออาตมัน ประโยคสนทนาสุดท้ายที่พ่อสั่งให้ลูกชายผ่าผลมะเดื่อ สะท้อนให้เห็นแนวคิดเรื่องอะตอมในฐานะเป็นหน่วยย่อยซึ่งไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกว่า แนวคิดดังกล่าวนี้ ได้ล้ำหน้าโลกตะวันตกมาก





            [1] Dr. Chandradhar Sharma. A Critical Survey of Indian Philosophy. (Delhi : Motilal Banarasidass Publishers,1991),p.17.
            [2] ในหนังสือ ปรัชญาอินเดีย ประวัติและลัทธิ ของสุนทร ณ รังสี อ้างมุกติโกปนิษัทว่ามีอุปนิษัท จำนวน ๑๐๘ อุปนิษัท และอ้างตัวเลขว่า ปัจจุบันมีมากถึง ๒๐๐ อุปนิษัท, ดูรายละเอียด หน้า ๒๘. ทำนองเดียวกันกับในหนังสือ A Critical Survey of Indian Philosophy ของDr.Chandradhar Sharma, ก็ระบุตัวเลขโดยอ้างมุกติโกอุปนิษัทว่ามี ๑๐๘ เช่นเดียวกัน, ดูหน้า ๑๗.
            [3] เอ็ม. หิริจันนะ, สารัตถปรัชญาอินเดีย. สุขุม ศรีบุรินทร์ ผู้แปล. (กรุงเทพ ฯ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, ๒๕๓๑), หน้า ๑๐.
 [4] รศ. ดร.จำลอง สารพัดนึกประวัติวรรณคดีสันสกฤต ๑. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๔๖ อ้างในhttp://th.wikipedia.org/wiki<เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔>
          [5] สุนทร ณ รังษี. อ้างแล้ว, หน้า ๒๘.
            [6] มุณฑกะอุปนิษัท, ๑.๒.๑,๗-๑๓ อ้างใน จำนงค์ ทองประเสริฐ, ผู้แปล. บ่อเกิดลัทธิประเพณีอินเดีย เล่ม ๑. (กรุงเทพ ฯ :ราชบัณฑิตยสถาน จัดพิมพ์, ๒๕๔๐), หน้า ๓๐-๓๑.
           [7] ฉานโทคยอุปนิษัท, อ้างใน สุนทร ณ รังษี, อ้างแล้ว, หน้า ๓๑.
           [8] มุณฑกอุปนิษัท, เรื่องเดียวกัน,หน้า ๓๑.
           [9] มหามกุฏราชวิทยาลัย, อรรถกถาธรรมบท แปล ภาค
            [10]ฉันโทคยอุปนิษัท, อ้างใน จำนงค์ ทองประเสริฐ, ผู้แปล. อ้างแล้ว, หน้า ๓๒.
            [11] ฉานโทคยอุปนิษัท, อ้างใน จำนง ทองประเสริฐ,ผู้แปล, อ้างแล้ว,หน้า ๓๓.
           [12] ฉานโทคยอุปนิษัท, จำนง ทองประเสริฐ, ผู้แปล,อ้างแล้ว, หน้า ๓๓-๓๕.
           [13] ฉานโทคยอุปนิษัท, จำนงค์ ทองประเสริฐ ผู้แปล, อ้างแล้ว, หน้า ๓๖.
           [14] ฉานโทคยอุปนิษัท, จำนงค์ ทองประเสริฐ ผู้แปล, อ้างแล้ว, หน้า ๓๖-๓๗.

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ศาสนาฮินดูมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานมากกว่า ๓,๐๐๐ ปี เป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดาเป็นผู้ประกาศศาสนา เป็นศาสนาของชาวอารยะ (ภาษาบาลีเรียกว่าชาวอริยกะ) ซึ่งเชื่อกันว่าอพยพมาจากยุโรป เข้ามาสู่อินเดียเมื่อราว ๓,๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว ชาวฮินดูเชื่อว่าศาสนาฮินดูสืบทอดมาจากคัมภีร์พระเวทซึ่งเชื่อว่าฤๅษีในสมัยก่อนได้รับ โดยตรงจากพระเป็นเจ้าจึงมีชื่อเรียกรวมๆว่า คัมภีร์ศรุติ จากหลักฐานทางโบราณคดีทำให้เราทราบว่าชาวพื้นเมืองเดิมที่บริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุเป็นเจ้าของวัฒนธรรมซึ่งเรียกกันว่า อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (ราว ๒๐๔๗-๑๓๕๗ปี ก่อน พ.ศ.) เป็นอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองเพราะมีการสร้างเมืองที่มีผังเมืองเป็นระเบียบ ประชาชนมีการอาบน้ำตามพิธีทางศาสนาเคารพบูชาเทพเปลือยกายที่มีเขาและมีสัตว์แวดล้อม กราบไหว้เทพที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ นับถือสัตว์คล้ายวัวมีเขาหนึ่งเขา ศาสนาของชาวพื้นเมืองเดิมแตกต่างจากศาสนาของชาวอารยะที่อพยพเข้ามาในภายหลังที่มาตั้งรกรากยุคแรกๆที่ลุ่มแม่น้ำสินธุ  ชาวอารยะยุคแรกๆเคารพนับถือเทพหลายองค์ที่เป็นพลังอยู่เบื้องหลังธรรมชาติซึ่งยังไม่มีรูปร่างแบบรูปร่างมนุษย์อย่างชัดเจนเหมือนเทพในศาสนาฮินดูยุคหลัง ยุคที่ชาวอารยะเข้ามานั้นอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุได้ล่มสลายไปแล้ว แต่ศาสนาของชาวพื้นเมืองเดิมก็ยังคงมีผู้นับถือต่อมาและได้มีอิทธิพลต่อศาสนาของชาวอารยะในสมัยหลัง 
               ชาวอารยะยุคแรกๆมีคัมภีร์ทางศาสนาเรียกว่าคัมภีร์พระเวทซึ่งใช้ภาษาสันสกฤต มี ๓ เวท คือ
1. ฤคเวท
2. สามเวท 
3. ยชุรเวท 
               ฤคเวทเป็นคัมภีร์ทางศาสนาที่เก่าที่สุดในโลกแต่งขึ้นเมื่อระหว่าง๙๕๗-๒๔๗ ก่อน  พ.ศ. โดย ประมาณ  ต่อมา มี อถรวเวท เพิ่มเข้ามารวมเป็น ๔  เวท  ศาสนาฮินดูในปัจจุบันแม้จะมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปจากศาสนาของชาวอารยะยุคแรกๆแต่ชาวฮินดูก็ยังถือว่าคัมภีร์พระเวทเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์และเป็นต้นตอของศาสนาฮินดู พัฒนาการไปสู่ความเป็นศาสนาฮินดูผ่านทางคัมภีร์ต่างๆในสมัยต่อมา คือ คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะ คัมภีร์อุปนิษัท คัมภีร์รามายณะ (รามเกียรติ์) คัมภีร์มหาภารตะ และคัมภีร์ปุราณะ และยังอาศัยหลักปรัชญา ๖ ทรรศนะ ได้แก่ นยายะ ไวเศษิกะ สางขยะ โยคะ และเวทานตะ (ปูรวมิมางสา และอุตตรมิมางสา) ศาสนาฮินดูแบ่งเป็นสองนิกายใหญ่ คือ ไศวะนิกาย คือ นิกายที่ถือว่าพระศิวะเป็นพระเจ้าสูงสุดและ ไวษณวนิกาย คือ นิกายที่นับถือว่า พระวิษณุเป็นพระเจ้าสูงสุด พระเป็นเจ้าทั้งสององค์นั้นเป็นพระเป็นเจ้าที่เป็นตัวบุคคล แต่อยู่ในลักษณะที่เหนือโลก แต่เมื่อพระองค์ต้องการจะมาเกี่ยวข้องกับโลก พระองค์ก็จะปรากฏในรูปของพระพรหมาเพื่อทำการสร้างโลก ในรูปของพระวิษณุ เพื่อรักษาคุ้มครองโลกและในรูปของพระ ศิวะ เพื่อทำลายล้างโลกเมื่อถึงยุคประลัย พระเป็นเจ้าองค์เดียวแต่รวมลักษณะทั้งสามนี้ไว้ เรียกว่า ตริมูรติ (ตฺริ= สาม มูรฺติ=รูป)
               ศาสนายุคพระเวทเน้นการบูชาเทพในธรรมชาติ ด้วยของสังเวยที่เป็นอาหาร เครื่องสังเวยที่สำคัญได้แก่เนยใส ที่จะต้องราดลงไปในไฟเพื่อให้ไฟลุก เมล็ดพืชที่เป็นอาหาร และโสมะ (เครื่องดื่มที่ทำให้มึนเมาที่คั้นจากพืชชนิดหนึ่ง) เทพที่สำคัญได้แก่ อินทระ ซึ่งเป็นเทพแห่งสงครามและเทพแห่งฝน อัคนิ คือ ไฟ  มรุต คือลม สูรยะ คือ พระอาทิตย์ รุทระเทพแห่งพายุ ยุคอุปนิษัทซึ่งช่วงสุดท้ายของยุคพระเวทถือว่าเป็นยุคหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ เป็นยุคที่มีความคิดทางปรัชญาเกิดขึ้น คัมภีร์ที่สำคัญ ได้แก่ ฉานโทคยะอุปนิษัท หฤหทารัณยกะอุปนิษัท กฐะ อุปนิษัท มุณฑกะอุปนิษัท เป็นต้นยุคนี้เน้นปรัชญามากกว่า พิธีกรรม  เน้นการแสวงหา สัจธรรมสูงสุดเพื่อ โมกษะ คือ ความหลุดพ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด อันเป็นสาเหตุของความทุกข์สิ่งมีอยู่จริงหรือสัจธรรมสูงสุดในช่วงอุปนิษัท คือ พรหม ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่า อาตมัน ซึ่งคือคำเดียวกับ อัตตา ในภาษาบาลี พรหมนี้บางทีก็เรียกว่า ปรมาตมัน บางที่ก็เรียกว่า  สัต พรหม เป็นสิ่งเที่ยง ไม่ตาย มีอยู่ชั่วนิรันดร เป็นตัวชีวะ (ชีวิต) ในสิ่งมีชีวิตทุกอย่าง เมื่อร่างกายตาย ตัว ชีวะ หรือ อาตมัน จะไม่ตาย จะเข้าร่างใหม่เรื่อยไปจนกว่าตัวชีวะนั้นจะได้โมกษะ คือ พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด พรหม ในช่วงอุปนิษัท ไม่ใช่ พรหมา ซึ่งเป็นพระพรหมาที่มาทำหน้าที่สร้างโลก ซึ่งเป็นหนึ่งใน ตริมูรติ ของศาสนาฮินดู พระพรหมา เป็นเทพเกิดขึ้นใน ยุครามายณะ และยุคมหาภารตะ เป็นต้นมา 
               ความเชื่อที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นช่วงอุปนิษัทก็ คือ ความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดหรือ สังสาระ และเชื่อเรื่องกรรม ซึ่งความเชื่อนี้อาจจะเกิดขึ้นจากการประสมประสานความเชื่อของชาวอารยะกับความเชื่อของชาวพื้นเมืองเดิม
หลักคำสอน
               จุดมุ่งหมายของชีวิตตามแนวทางของศาสนาฮินดูมี ๔ ประการ คือ
 ๑. อรถะ หรือ อรรถะ การแสวงหาทรัพย์เพื่อการดำรงชีวิต ภายใต้กรอบคำสอนทางศาสนา
๒. ธรมะ หรือ ธรรมะ การดำรงชีวิตภายใต้กรอบคำสอนทางศาสนา
๓. กามะ  การแสวงหาความสุขทางโลก ภายใต้กรอบคำสอนทางศาสนา
๔. โมกษะ ในที่สุดต้องแสวงหาความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
               จะเห็นว่าจุดมุ่งหมาย ๓ ข้อแรกต้องการให้ศาสนิกดำรงชีวิตทางโลกเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคลแต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบคำสอนทางศาสนาของตน แต่เมื่อมีความสุขอย่างมีศีลธรรมในระดับโลกแล้วศาสนิกจะต้องแสวงหาเป้าหมายอันสุดของชีวิตคือ โมกษะ คือ ความพ้นไปจากการตายแล้วเกิดๆ ซึ่งเป็นผลของกรรมหรือการกระทำทุกอย่างในโลก ต้องคำนึงอยู่เสมอว่าทุกอย่างในโลกเป็นสิ่งไม่คงอยู่ชั่วนิรันดร อยู่ภายใต้กฎธรรมชาติที่ว่า เกิดขึ้น คงอยู่ชั่วระยะหนึ่ง ในที่สุดก็สูญสลายไป สิ่งที่เป็นนิรันดร คือ ความจริงสูงสุดหรือพระเป็นเจ้า ซึ่งเราจะรู้ได้เมื่อเข้าถึงโมกษะ

คัมภีร์อุปนิษัท

คัมภีร์อุปนิษัท  


          นับว่าเป็นวรรณกรรมที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ถ่ายทอดมาจากคำบอกเล่าของฤาษีทั้งหลายในสมัยอดีต   มีทั้งสมัยก่อนพระพุทธเจ้าและสมัยหลังพระพุทธเจ้า   อันเป็นผลของการเพ่งพินิจจากญาณทรรศนะของท่านผู้เป็นนักคิดที่ปรารถนาจักเห็นแจ้งซึ่งสัจจะที่เป็นสาระและรากฐานที่มาของสรรพสิ่ง   คัมภีร์อุปนิษัทก็ได้แสดงออกถึงความไม่สงบภายในจิตใจมนุษย์  ที่ปราศจากความรู้แท้จริง   และยังมุ่งหมายจะให้มนุษย์ทั้งหลายรู้ว่า    ธาตุแท้ของมนุษย์แต่ละคนนั้นคือ อาตมัน  ซึ่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับธาตุแท้   หรือเนื้อแท้ของจักรวาล  คือ   พรหมัน  หรือปรมาตมัน 

           อาตมันในตัวคนแต่ละคนกับวิญญาณซึ่งอยู่เบื้องหลังจักรวาลและเป็นผู้ให้กำเนิดจักรวาลคือสิ่งเดียวกัน  และโดยเนื้อแท้แล้ว  คนทุกคนก็เป็นอันเดียวกัน  ฤาษีผู้ถ่ายทอดความรู้นี้แก่อนุชนมุ่งหมายให้เรารู้ว่าความเกี่ยวกับอาตมัน  และพรหมันนั้นเป็นความรู้ที่จะนำไปสู่อิสรภาพหรือความหลุดพ้นจากวัฏฏะแห่งการเกิดการตาย  จะนำไปสู่ความเกษมสุขและอมตภาพ  

            คัมภีร์อุปนิษัทมีอีกชื่อหนึ่งว่า  “เวทานตะ”  แปลว่า ที่สุดของคัมภีร์พระเวท (เวท + อนฺต = เวทานฺต)  ตามศัพท์   อุปนิษัท  แปลว่า  นั่งใกล้  หมายความว่า  ศิษย์นั่งใกล้อาจารย์ และได้รับความรู้นี้จากอาจารย์  โดยทั่วไปแล้วถือกันว่า  อุปนิษัทเป็น “รหัสยะ”  คือเป็นคำสอนลึกลับที่ศิษย์ผู้ทรงคุณวุฒิเท่านั้นพึงได้รับจากอาจารย์

           คำว่า อุปนิษัท  มาจาก  อุป  อุปสรรค แปลว่า “ใกล้”  นิ อุปสรรค แปลว่า “ลง”  และ  สทฺ  ธาตุ  แปลว่า  “นั่ง”  รวมคำทั้ง ๓ เข้าด้วยกัน แปลว่า  นั่งใกล้อย่างตั้งอกตั้งใจ  หมายความว่า  ศิษย์ทั้งหลายเข้าไปนั่งใกล้อาจารย์เพื่อเรียนคำสอนที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างตั้งอกตั้งใจ  เพราะอุปนิษัทประกอบด้วยความหมายที่ลึกซึ้งของพยางค์  โอม  และการอธิบายคำที่ลึกลับ  เช่น  ตัชชลาน  (ตชฺชลานฺ)  เป็นที่บรรจุทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่อยู่เหนือโลก  ดังนั้น  คำว่าอุปนิษัทจึงกลายเป็นชื่อของเรื่องที่ลึกลับ (รหัสยะ)

            คัมภีร์อุปนิษัทมีอีกชื่อหนึ่งว่า  “พรหมวิทยา”  คือ  เป็นวิทยาหรือความรู้ที่นำเราไปสู่  “พรหม”   คำว่า   “พรหม”    มีความหมายเช่นเดียวกันกับคำว่า  “ปรมาตมัน”  ทั้งสองคำนี้แปลว่า  “พระเจ้า” 

          คัมภีร์อุปนิษัทที่สำคัญมีอยู่ด้วยกันทั้งหมดประมาณ  ๑๕๐  อุปนิษัท  แต่ที่รับรองกันทั่วไป มี  ๑๐๘   อุปนิษัท มีความยาวและสั้นต่างกัน ในมุกติกะอุปนิษัท   ปรากฏชื่อของอุปนิษัททั้งหมดไว้   ๑๐๘  นี้ ซึ่งเป็นส่วนของยชุรเวท   แต่โดยทั่วไปแล้ว   อุปนิษัทที่เป็นงานสำคัญก็มีเพียง  ๑๐  อุปนิษัทเท่านั้น    
           แต่ศังกราจารย์ได้เขียนภาษยะอธิบายอุปนิษัทไว้ว่ามี  ๑๑  อุปนิษัท    คือ อีศา  เกนะ   กฐะ   ปรัศนะ   มุณฑกะ  มาณฑูกยะ   ไตตติรียะ   ไอตเรยะ     ฉานโทคยะ   พฤหทารัณยกะ  และเศวตาศวตระอุปนิษัท ทั้งหมดนี้อาจารย์รุ่นหลัง ๆ  ทั้งหลายถือเป็นแบบฉบับในการแปลความหมายของอุปนิษัทตั้งแต่นั้นตลอดมาเวลาในการแต่งอุปนิษัทนั้นไม่สามารถที่จะบ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่าแต่งขึ้นเมื่อไร   แต่อุปนิษัทที่เก่าแก่ที่สุดมีอยู่  ๘  อุปนิษัท  คือ  ไอตเรยะ  เกาษีตกี   ฉานโทคย   เกนะ  ไตตติรียะ  พฤหทารัณยกะ   อีศาและกฐะอุปนิษัท  แต่งขึ้นในศตวรรษที่  ๘  และที่  ๗ ก่อนคริสตศักราช  และก่อนพุทธกาล   ส่วนอุปนิษัทอื่น ๆ   ศังกราจารย์อธิบายว่าน่าจะแต่งขึ้น  ประมาณ  ๔๐๐ ปี  ถึง  ๓๐๐ ปี  ก่อนคริสตศักราช   

           และที่ว่าคัมภีร์อุปนิษัทซึ่งเป็นส่วนท้ายสุดของพระเวทนั้น   หมายถึงทุกพระเวท  ซึ่งแบ่งออกได้  ๔  หมวด  คือ  ฤคเวท   ยชุรเวท   สามเวท  และอาถรรพเวท   ดังนั้น  อุปนิษัทเมื่อแบ่งลงในพระเวทเหล่านั้นแล้ว  ก็สามารถแบ่งออกได้  ดังต่อไปนี้
๑)      ไอตเรยะอุปนิษัท  และเกาษีตกีอุปนิษัท   จัดเป็นส่วนหนึ่งของฤคเวท
๒)     ไตตติรียะอุปนิษัท   กฐะอุปนิษัท  เศวตาศวตระอุปนิษัท  และไมตรียะอุปนิษัท   จัดเป็นส่วนหนึ่งของกฤษณะยชุรเวท  (ยชุรเวทดำ)   พฤหทารัณยกะอุปนิษัท และ อีศาอุปนิษัท  จัดเป็นส่วนหนึ่งของศุกละยชุรเวท (ยชุรเวทขาว)
๓)     ฉานโทคยะอุปนิษัท  และเกนะอุปนิษัท   จัดเป็นส่วนหนึ่งของสามเวท
๔)     ปรัศนะอุปนิษัท   มุณฑกะอุปนิษัท  และมาณฑูกยะอุปนิษัท  จัดเป็นส่วนหนึ่งของอาถรรพเวท

โค้ด คิว เละโค้ด ว. สำหรับนักวิทยุสมัครเล่น

Q Code ความหมาย
ที่นิยมใช้ (เรียงตามอักษรภาษาอังกฤษ)
QRA สถานที่ของท่านชื่ออะไร ?
QRB
ท่านอยู่ห่างจากสถานที่ของข้าพเจ้าเท่าใด ?
QRD 
ท่านจะไปที่ไหน และมาจากไหน ?
QRE
ท่านจะมาถึงเวลาใด ?
QRG
ท่านจะบอกความจริงของข้าพเจ้าได้ไหม ?
QRH
ความถี่ของข้าพเจ้าเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ?
QRK
ท่านรับฟังข้อความของข้าพเจ้าได้ชัดเจนเพียงใด ?
QRL 
ท่านกำลังมีธุระหรือ ?
QRM
ท่านกำลังถูกรบกวนหรือ ?
QRN
ท่านถูกรบกวนจากโดยประจุไฟฟ้า ในบรรยากาศหรือ ?
QRO
ข้าพเจ้าจะเพิ่มกำลังส่งได้หรือไม่ ?
QRP
ข้าพเจ้าจะลดกำลังส่งได้หรือไม่ ?
QRQ 
ข้าพเจ้าจะส่งเร็วขึ้นได้หรือไม่ ?
QRS
ข้าพเจ้าจะส่งให้ช้าลง ?
QRT
ข้าพเจ้าจะหยุดส่งได้หรือไม่ ?
QRU
ท่าน (มีข้อความ) อะไรสำหรับข้าพเจ้าหรือไม่ ?
QRV
ท่านพร้อมหรือยัง ?
QRW
จะให้ข้าพเจ้าแจ้งเขาไหมว่า ท่านกำลังเรียกอยู่ที่ความถี่ .......KHz (หรือ MHz) ?
QRX
เมื่อใดที่ท่านจะเรียกข้าพเจ้าอีก ?
QRZ
ใครกำลังเรียกข้าพเจ้า ?
QSA
ความแรงสัญญารของข้าพเจ้าเป็นอย่างไร ?
QSB
สัญญาณของข้าพเจ้าจางหรือไม่ ?
QSL
ท่านรับข้อความได้หรือไม่ ?
QSM
ท่านได้ยินข้าพเจ้า (หรือชื่อ สถานี) ที่ความถี่ ...KHz (หรือ MHz) หรือไม่ ?
QSO
ท่านสามารถติดต่อกับ (ชื่อสถานี) ได้โดยตรง (หรือโดยการถ่ายทอด) หรือไม่ ?
QSP
ท่านจะถ่ายทอดข้อความถึง...ได้หรือไม่ ?
QSX
ท่านจะรับฟัง (ชื่อสถานี) ความถี่ KHz (หรือ MHz) ได้หรือไม่ ?
QSY
ข้าพเจ้าจะเปลี่ยนไปส่งด้วยความถี่ อื่นได้หรือไม่ ?
QTH 
ตำแหน่งสถานีของท่านอยู่ที่ใด ?
QTR
ขณะนี้เวลาเท่าใด ?

QR... QRA
สถานีของท่านชื่ออะไร
QRB
ท่านอยู่ห่างจากสถานีข้าพเจ้าเท่าใด
QRC
ท่านชำระค่าธรรมเนียมกับใคร
QRD
ท่านกำลังจะไปที่ใด และมาจากที่ใด
QRE
ท่านมาถีงที่....หรือ เลยไปจากที่.....
QRF
ท่านกำลังจะกลับไปที่.....
QRG
กรุณาบอกความถี่ที่แน่นอนของข้าพเจ้า
QRH
ความถี่ของข้าพเจ้าเปลี่ยนไปหรือไม่
QRI
น้ำเสียงของข้าพเจ้าเป็นอย่างไร
QRJ
ท่านจองวิทยุโทรศัพท์กี่ครั้ง
QRK
ขอทราบความชัดเจนของข้าพเจ้า
QRL
ท่านกำลังยุ่งหรือ
QRM
ท่านกำลังถูกสัญญานรบกวรหรือ
QRN
ท่านมีปัญหาจากคลื่อรบกวนหรือ
QRO
ต้องการให้ข้าพเจ้าเพิ่มกำลังส่งหรือ
QRP
ต้องการให้ข้าพเจ้าลดกำลังส่งหรือ
QRQ
ต้องการให้ข้าพเจ้าส่งเร็วขึ้นหรือไม่
QRR
ท่านพร้อมที่จะทำงานอัตโนมัติหรือไม่
QRS
ต้องการให้ข้าพเจ้าส่งช้าลงหรือไม่
QRT
ข้าพเจ้าจะหยุดส่งความถี่ได้หรือไม่
QRU
ท่านมีอะไรกับข้าพเจ้าอีกหรือไม่
QRX
ท่านจะเรียกข้าพเจ้าอีกเมื่อใด
QRY
ความถี่ของข้าพเจ้าเป็นเท่าใด
QRZ
ใครกำลังเรียกข้าพเจ้าอยู่


QS... QSA
ขอทราบความแรงของสัญญานข้าพเจ้า
QSB
สัญญานของข้าพเจ้าจางหายหรือ
QSC
ท่านเป็นเรือบรรทุกสินค้าหรือ
QSD
การส่งของข้าพเจ้าผิดพลาดหรือไม่
QSE
กรุณาบอกตำแหน่งของเรือกู้ภัย
QSF
ท่านต้องการความช่วยเหลือหรือไม่
QSG
จะให้ส่งโทรเลขครั้งละกี่ฉบับ
QSH
ท่านสามารถคงอุปกรณ์ D/F ของท่านหรือไม่
QSJ
ค่าใช้บริการทั้งหมดเป็นเท่าใด
QSK
ท่านได้ยินข้าพเจ้าอยู่ระหว่างสัญญานของท่านหรือ
QSL
ท่านยืนยันได้หรือไม่
QSM
กรุณาส่งข้อความซ้ำอีกครั้ง
QSN
ท่านได้ยินข้าพเจ้าที่ความถี่.....หรือไม่
QSO
ท่านติดต่อโดยตรงกับ.....ได้หรือไม่
QSP
ช่วยถ่ายทอดข้อความไปยัง.......
QSQ
ท่านมีแพทย์อยู่บนเรือหรือไม่
QSR
จะให้ข้าพเจ้าเรียกซ้ำที่ความถี่นี้อีกหรือ
QSS
ท่านจะใช้ความถี่อะไรติดต่อกัน
QSU
จะให้ข้าพเจ้าส่งหรือรับที่ความถี่นี้หรือ
QSV
จะให้ข้าพเจ้าส่งชุดของ V ที่ความถี่นี้หรือ
QSW
ขอให้ท่านส่งที่ความถี่นี้
QSX
ขอให้ท่านฟัง.......ที่ความความถี่นี้
QSY
จะให้ข้าพเจ้าเปลี่ยนความถี่อื่นหรือ
QSZ
จะให้ข้าพเจ้าส่งทีละคำหรือทีละกลุ่ม







คำเฉพาะ
QTH
สถานที่อยู่ขณะนี้
QTR
ขอทราบเวลา เวลา
CONTACT
ขอติดต่อด้วย
COPY
การรับข้อความ
CQ
ท่านใดรับได้กรุณาตอบด้วย
DX
การติดต่อทางไกล
HARMONIC
บุตร , ธิดา
LAND LINE
โทรศัพท์
MAYDAY
ขอความช่วยเหลือด่วนที่สุด (ใช้เฉพาะเหตุฉุกเฉินที่สุดเท่านั้น)
OM
เพื่อนเก่าชาย ส่วนใหญ่แปลเป็นบิดา
OL
เพื่อนเก่าหญิง ส่วนใหญ่แปลเป็นมารดา
PORTABLE
สถานีชั่วคราว
YL
หญิงสาว
XYL
ภรรยา
73
ด้วยความปรารถนาดี ใช้ทั่วไป
88
ด้วยความปรารถนาดี ใช้เมื่อคู่สถานีเป็นหญิงสาวที่คุ้นเคย











ตารางการออกเสียงตัวอักษร
พยัญชนะ อ่านออกเสียง
A Alfa AL FAH
B Bravo  BRAH VOH
C Charlie CHAR LEE
D  Delta DELL THA
E Echo ECH OH
F Foxtrot FOKS TROT
G Golf  GOLF
H Hote HOH TELL
I India IN DIA AH
J  Juliett  JEW LEE ETT
K Kilo  KEY LOH
L Lima  LEE MAH
M  Mike MIKE
N  Neovember NO VEM BER
O  Oscar  OSS CAH
P  Papa  PAH PAH
Q Quebec  KEH BECK
R  Romeo ROW ME OH
S  Sierra SEE AIR RAH
T  Tango TANG GO
U  Uniform YOU NEE FORM
V Victor VIK TAH
W  Whiskey WISS KEY
X  X-ray ECKS RAY
Y  YankeeYANG KEY
Z Zulu ZOO LOO
หมายเหตุ : ในการอ่านออกเสียงพยางค์ที่เน้นตัวหน้า หมายถึงต้องลงเสียงหนัก
รหัส ว. ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารทั่วไป
. 00 คอยก่อนให้คอยอยู่
. 01  ที่ทำงาน
. 02ที่พัก
. 0 ขอทราบคำสั่งคำสั่ง
. 1 อยู่ไหนอยู่ที่
. 2 ได้ยินหรือไม่ตอบด้วยได้ยินแล้ว
. 3ทบทวนข้อความซ้ำอีกครั้ง
. 4 ปฏิบัติหน้าที่ / ดำเนินการ
. 5 ราชการลับ / ความลับ
. 6 ขอติดต่อ / โต้ตอบด้วย
. 7 ขอความช่วยเหลือ
. 8ข่าวสาร / ข้อความ
. 9 มีเหตุฉุกเฉิน
. 10อยู่ประจำที่ติดต่อทาง ว. ได้
. 11 หยุดพักติดต่อทาง ว.ได้
. 12 หยุดพักติดต่อทาง ว. ไม่ได้
. 13ติดต่อทางโทรศัพท์
. 14ปิดสถานี
. 15พบ / ให้ไปพบ
. 16 ทดสอบสัญญาณวิทยุ
. 16-1จับใจความไม่ได้
. 16-2เสียงไม่ชัดเจน
. 16-3เสียงชัดเจนพอใช้ได้
. 16-4เสียงชัดเจนดี
. 16-5เสียงชัดเจนดีมาก
. 17มีอันตรายห้ามผ่าน
. 18นำรถออกทดลองเครื่องยนต์ / รถยนต์เสีย
. 19สถานีถูกยึด / ถูกโจมตี
. 20ตรวจค้น / จับกุม
. 21ออกเดินทางจาก
. 22 ถึงสถานที่
. 23 ผ่าน (สถานที่ใด)
. 24เวลา ขอทราบเวลา
. 25ไปสถานที่
. 26ให้ติดต่อทางวิทยุน้อยที่สุด
. 27ให้ติดต่อทางโทรพิมพ์
. 28 ประชุม
. 29มีราชการ / ธุระ
. 30ขอทราบจำนวน
. 31เปลี่ยนไปใช้ความถี่ช่องที่ 1
. 32เปลี่ยนไปใช้ความถี่ช่องที่ 2
. 33 เปลี่ยนไปใช้ความถี่ช่องที่ 3
. 34เปลี่ยนไปใช้ความถี่ช่องที่ 4
. 35เตรียมพร้อมเพื่อปฏิบัติการ
. 36เตรียมพร้อมเต็มอัตรา
. 37เตรียมพร้อมครึ่งอัตรา
. 38เตรียมพร้อม 1/ 3 อัตรา
. 39สภาพการจราจรคับคั่ง
. 40อุบัติเหตุรถยนต์
. 41สัญญาณไฟจราจร
. 42ขบวนจัดพาหนะนำขบวน
. 43จุดตรวจยานพาหนะ
. 44ติดต่อทางโทรสาร (FAX)
. 50รับประทานอาหาร
. 55ให้อำนวยความสะดวก
. 60ญาติ / พี่น้อง
. 61ขอบคุณ
. 62สิ่งของ
. 63 บ้าน
. 64ธุระส่วนตัว
. 601เครื่องรับ – ส่งวิทยุ
. 602สายอากาศวิทยุ
. 603รถยนต์
. 604ดูโทรทัศน์
. 605รับประทานอาหาร
. 606พูดไม่เป็นความจริง
. 607กิจธุระส่วนตัว
. 608คนก่อกวน
. 609คลื่นรบกวน
. 610คิดถึง
. 100ขอโทษ

การแจ้งเหตุทางวิทยุ
เหตุ 100 มีเหตุประทุษร้ายต่อทรัพย์สิน
เหตุ 111 ลักทรัพย์
เหตุ 121 วิ่งราวทรัพย์
เหตุ 131 ชิงทรัพย์
เหตุ 141 ปล้นทรัพย์
เหตุ 200 มีเหตุประทุษร้ายต่อร่างกาย
เหตุ 211 ทำร้ายร่างกาย ไม่ได้รับบาดเจ็บ
เหตุ 221
ทำร้ายร่างกาย ได้รับบาดเจ็บ